กว่าจะมาเป็นเลือดจระเข้แคปซูล

กว่าจะมาเป็นเลือดจระเข้แคปซูล

 

เลือดจระเข้_330x248_6

    เลือดจระเข้มีสรรพคุณพิเศษที่เป็นประโชยน์ต่อมนุษย์ ซึ่งกรรมวิธีดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาสำหรับการเก็บเลือดจระเข้ คือ

         เมื่อเมตตาฆาตจระเข้ โดยใช้ปืนยาวยิงบริเวณสมองหรือกะโหลกจระเข้เพื่อให้ตายเฉียบพลันแล้วนำจระเข้ขึ้นแขวนก่อนทำการชำแหละ หรือวางบนขอบโต๊ะทำให้เลือดไหลออกจากตัวจระเข้ทางส่วนหัวแล้วนำภาชนะรองรับเลือดที่ไหลออกมา จากนั้นจะนำเลือดที่ได้ไปเก็บไว้เพื่อทำการแปรรูป ซึ่งส่วนมากคือ การนำไปตากแดดและอบแห้งด้วยความร้อนจนกลายเป็นเลือดจระเข้อบแห้งแล้วจึงนำมาบรรจุเพื่อจำหน่ายออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้ซื้อจะใช้เพื่อเป็นสมุนไพรผสมในตำรับยาแผนโบราณ กรรมวิธีแบบง่ายๆอย่างที่กล่าวมานั้นพบว่า เลือดจระเข้ที่เก็บได้ย่อมหลีกไม่พ้นที่จะมีการปนเปื้อนแบคทีเรียหรือฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ในอากาศ เมื่อเลือดไหลออกจากตัวจระเข้จุดต่อไปที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนคือ ภาชนะที่นำมารองรับเลือด

         ส่วนกรรมวิธีการนำไปตากแดดแบบดั้งเดิมต้องตากแดดหลายวันกว่าเลือดจะจับกันเป็นก้อนแห้ง จากนั้นจึงนำมาบดให้เป็นผงด้วยโกร่งหรือครก ต่อมามีการนำไปอบแห้งด้วยความร้อนและใช้เครื่องบด ซึ่งกรรมวิธีที่กล่าวมานั้นนอกจากเลือดผงแห้งที่ไม่สะอาดแล้ว การอบด้วยความร้อนยังทำให้โปรตีนที่มีอยู่สูงมากในเลือดจระเข้ต้องสูญเสียไปอีกด้วย

 

นวัตกรรมใหม่ในการเก็บเลือดจระเข้ให้สะอาด

           จากกรรมวิธีดั้งเดิมในการทำเลือดจระเข้แห้ง หากต้องการให้ผู้บริโภคได้ทานเลือดจระเข้แห้งเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัยเป็นอย่างแรก

           หลายๆคนคงเคยผ่านการเจาะเลือดเวลาไปตรวจร่างกาย หรือไปบริจาคเลือด พยาบาลจะใช้เข็มแทงไปยังเส้นเลือดใหญ่และให้เลือดไหลออกมาเข้าสู่กระบอกเก็บเลือด เมื่อได้เลือดตามจำนวนที่ต้องการแล้วก็ใส่ลงในหลอดเก็บเลือดแล้วปิดผนึกทันที เลือดเราที่ถูกดูดออกมาจะสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน ซึ่งเห็นได้ว่าเลือดที่ไหลออกมาจากร่างกายเรานั้นไม่ได้สัมผัสอากาศเลย

          จากการเจาะเลือดของมนุษย์นั้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเจาะเก็บเลือดจระเข้ โดยใช้เข็มเจาะเลือดประกอบกระบอกฉีดยา (syring) ตามวิธีที่ทางการแพทย์ใช้ แต่จระเข้เป็นสัตว์ที่มีหนังหนาและแข็ง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เข็มและกระบอกฉีดยาหลายขนาดเพื่อให้สามารถเก็บเลือดจระเข้ได้ตามปริมาณที่ต้องการ ขณะเดียวกัน เข็มที่เจาะต้องมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องความแข็งแรง รวมทั้งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงานด้วย ถึงแม้อย่างนั้นก็ยังมีอุปสรรคมากมายทั้งในเรื่องความสิ้นเปลือง และเลือดที่ได้ยังไม่สะอาดพอ จึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนในที่สุดได้คิดค้นและประดิษฐ์ "อุปกรณ์เจาะเก็บเลือดจระเข้ได้ในปริมาณมาก" และ "เข็มเจาะเลือดจระเข้" อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้ได้จดสิทธิบัตรเลขที่ 36114 และเลขที่ 46481 ในเดือนกรกฎาคม 2556 และเดือนตุลาคม 2558 ตามลำดับ

          สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมานั้นสามารถเจาะเก็บเลือดจระเข้ได้อย่างน้อย 200 มิลลิลิตรต่อตัว โดยไม่ทำลายชีวิตจระเข้และไม่เป็นการทรมานจระเข้ เพราะหลังการเจาะเก็บเลือดครั้งแรก พักช่วงไป 3 - 4 เดือนก็สามารถกลับไปเจาะเลือดได้ใหม่หลังจากธรรมชาติของจระเข้ได้สร้างเลือดขึ้นมาใหม่เหมือนเราทุกคนที่ไปบริจาคเลือด หลังจากนั้นร่างกายเราก็จะสร้างเม็ดเลือดขึ้นมาใหม่ได้เช่นกัน

 

กระบวนการผลิตเลือดจระเข้แห้งที่คงคุณภาพ

           เมื่อเราได้เลือดจระเข้ที่เป็นวัตถุดิบต้นทางที่มีความสะอาดปลอดภัยและปราศจากสิ่งปนเปื้อนมาแล้ว กระบวนการที่สำคัญต่อไปคือ ผลิตให้ได้มาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ และคงคุณค่าของสารสำคัญต่างๆในเลือดจระเข้ให้คงอยู่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคให้มากที่สุด จึงได้เลือกวิธีการทำเลือดจระเข้แห้งด้วยกระบวนการระเหิดแห้งภายใต้ความเย็นจัด (ฟรีซดราย, Freeze Drying) ซึ่งไม่ทำให้โปรตีนในเลือดจระเข้เสียคุณสมบัติ แทนกรรมวิธีดั้งเดิมทั้งการตากแดด การเข้าตู้อบแห้งด้วยความร้อนสูง เมื่อได้เลือดจระเข้แห้งฟรีซดรายที่มีคุณภาพดีแล้ว จึงนำมาทำให้เป็นผงโดยอุปกรณ์ที่สะอาดภายใต้สภาวะที่ปลอดเชื้อ และนำมาบรรจุแคปซูลเพื่อความสะดวกในการรับประทานแทนการทานแบบเดิม

 

(อ้างอิงจาก : วิน เชยชมศรี. (2562). เลือดจระเข้, (1), 83-96.)